วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานภาษาไทย : พระเวชสันดรชาดก

กัณฑ์ทศพร
เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมา นครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรม พระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้ว พระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราชพรจากภพสวรรค์แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อ ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดงถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า และอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้ ๑. ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี๒. ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย๓. ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม๕. ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป๖. ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง๘. ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ๙. ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ๑๐. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

อานิสงส์ผู้ใด บูชากัณฑ์ทศพร ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกัน จะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่ายมีรูปกายงดงาม มีความประพฤติดีกิริยาเรียบร้อยทุกประการฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิต ตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์ กล่าวคือ ๑. ต้องกระทำความดี๒. ต้องรักษาความดีนั้นไว้๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น






กัณฑ์หิมพานต์
ได้มาเกิดเป็นอัครชายา ของพระราชาแคว้นสีพีรัฐสมดั่งคำพระอินทร์นั้น พระนางยังมีพระสิริโฉมงดงามตามคำพรอีกด้วย ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน พระอินทร์ก็ทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนาง ประสูติพระกุมาร วันหนึ่งพระนางผุสดีทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนคร เมื่อขึ้นสีวิกาเสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทางของเหล่าพ่อค้าก็เกิดปวดพระครรภ์ และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่พระราชกุมารทรงประสูติ พญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรงช้างต้น ช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมีนั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์" พระราชกุมารเวสสันดร ทรงบริจาคทานตั้งแต่ ๔-๕ ชันษา ทรงปลดปิ่นทองคำ และเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้ง เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า เมื่อทรงเจริญชันษาได้ ๙ ปี ก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อ และดวงหทัยเพื่อมุ่งพระโพธิญาณในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่ ครั้นถึงวัย ๑๖ พรรษา ก็แตกฉานในศิลปวิทยา ๑๘ แขนง ทรงได้ขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับพระนางมัทรี และมีพระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า "ชาลีกุมาร" และ "กัณหากุมารี" อันหมายถึงห่วงทองบริสุทธิ์ เวลาต่อมาเมืองกลิงครัฐเกิดกลียุค ฝนแล้งผิดฤดูกาลข้าวยากหมากแพงเป็นที่ยากเข็ญทุกข์ร้อนไปทั่ว ชาวนครมาชุมนุมร้องทุกข์หน้าวังกันแน่นขนัด พระเจ้ากลิงคราชจึงทรงถือศีล ๗ วัน เพื่อขอบุญกุศลช่วย ทว่าฝนฟ้าก็ยังแล้งหนัก อำมาตย์จึงทูลให้ทรงขอช้างเผือกแก้วปัจจัยนาเคนทร์ของพระเวสสันดร ด้วยว่าพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีรัฐนั้นขี่ช้างคู่บารมีไปหนใด ก็มีฝนโปรยปรายชุ่มชื้นไปทั่วแคว้น พระเจ้ากลิงคราชจึงส่ง ๘ พราหมณ์ไปทูลขอช้างแก้วจากพระเวสสันดร เมื่อได้ช้างแก้วจากพระเวสสันดรแล้ว พราหมณ์ก็ขี่ช้างออกจากกรุง บรรดาชาวนครเห็นช้างพระราชาก็กรูกันเข้าล้อม และตะโกนด่าทอจะทำร้ายพราหมณ์ทั้ง ๘ คน แต่พราหมณ์ตวาดตอบว่า พระเวสสันดรพระราชทานช้างให้พวกตนแล้ว เมื่อพราหมณ์นำช้างแก้วไปถึงเมือง ฝนฟ้าก็โปรยปรายลงมาเป็นที่ยินดีทั้งแคว้น แต่ในกรุงสีพีนั้นกลับอลหม่าน มหาชนต่างมาชุมนุมที่หน้าพระลานร้องทุกข์พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านเมืองให้คนอื่น ผิดราชประเพณี เกรงว่าอีกต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คนอื่นก็ได้ ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครเถิด

อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์หิมพานต์ย่อมได้สิ่งปรารถนาทุกประการ ครั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์ จุติจากสวรรค์แล้วจะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาล หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาล อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร บริวารมากมายนานาประการ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า รถ ยานพาหนะจะนับจะประมาณมิได้ ประกอบด้วยสุขกายสบายใจทุกอิริยาบถฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
๒. โลกต้องการผู้เสียสละ มิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค "มารไม่มีบารมีไม่มา มารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า"
๔. จุดหมายแห่งการเสียสละ อยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์


กัณฑ์ทานกัณฑ์

พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วยเสียพระทัยนักพระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดา และขอบริจาคทานให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี อย่างละ ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไป
สัตตสตกมหาทานนั้น คือ
ช้าง ๗๐๐ เชือก
ม้า ๗๐๐ ตัว
โคนม ๗๐๐ ตัว
รถม้า ๗๐๐ คัน
นารี ๗๐๐ นาง
ทาส ๗๐๐ คน
ทาสี ๗๐๐ คน
ผ้าอาภรณ์ ๗๐๐ ชิ้น
เสด็จออกจากนครพระนางมัทรีพาพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จออกป่าด้วย มิทรงยอมอยู่ในวังแม้พระเวสสันดรจะยับยั้งห้ามปราม มิให้มาตกระกำลำบากด้วยกันในป่า
ระหว่างทางที่เสด็จขึ้นราชรถทองไปนั้น มีพราหมณ์วิ่งมาทูลขอม้าบ้าง ขอราชรถบ้าง พระเวสสันดรก็ยกให้ทั้งสิ้น ในที่สุดจึงต้องทรงอุ้มพระโอรสและพระธิดาเสด็จเข้าป่าไป

อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง ทาส ทาสี และสัตว์สองเท้าสี่เท้า ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมาย เสวยสุขอยู่ในปราสาทสร้างด้วยแก้ว ๗ ประการ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความรักของแม่ ความห่วงของเมีย
๒.โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้าย คือ ถูกประนามหยามหมิ่นอาจถึงจบชีวิตด้วยการก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์แล้วโดดฆ่าตัวตาย
๓. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
๔. ยามบุญมีเขาก็ยก ยามตกต่ำเขาก็หยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขื่นขม








กัณฑ์วนปเวสน์
เมื่อเสด็จด้วยพระบาทถึงเมืองเจตรัฐพระราชาเสด็จมาต้อนรับและทูลเชิญให้ครองเมืองเจตรัฐนั้น แต่พระเวสสันดรขอไปบำเพ็ญเพียรในป่า กษัตริย์เจตรัฐจึงรับสั่งให้เจตบุตรคอยอารักขาในป่า และถวายน้ำผึ้งและเนื้อให้พระเวสสันดรด้วย
เมื่อพระเวสสันดรเดินทางมาถึงเขาวงกต พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ด้วยความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช พระนางมัทรีก็ทรงบวชเป็นดาบสินี บำเพ็ญศีลกันในป่าอยู่ที่อาศรม พระนางมัทรีต้องปัดกวาดอาศรมทุกวันแล้วก็หาผลไม้ในป่า ตักน้ำมาเตรียมไว้
ในป่านั้นอุดมด้วยผลไม้นานาชาติ มีสระโบกขรณีน้ำสะอาดใสไหลเย็น มีพฤกษาร่มรื่นและมีดอกไม้หอมหวลทั่วทั้งป่าราวกับวิมานทิพย์

อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์เทศน์วนประเวศน์จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า จะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีปเป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด สามารถปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไปฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียวแล
๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามเพื่อนทุกข์ ช่วยอุ้มชูยามเพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต่ำ
๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ชัดว่าปกติสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้ เพราะการเสียสละของตน ก็สมัครสลัดโอกาสและโชคลาภอันจะพึงได้ ด้วยความชื่นชม

ไม่มีความคิดเห็น: