วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

อิเหนา

เรื่องย่ออิเหนา ( ตอนศึกกะหมังกุหนิง )
ผู้แต่ง พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชจักรีวงศ์ มีพระนามเต็มว่า : พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ( พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ )พระนามเดิม : ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพ : เมื่อ วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสวยราชสมบัติ : เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์ เสด็จสวรรคต : พ.ศ. ๒๓๖๗ วัดประจำรัชการ : วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)วันที่15พ.ศ. 2155
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร มีลักษณะดังนี้
๑.กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ – ๘ คำ
๒. การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ ๆ ในแต่ละวรรค ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น เช่น
ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย

ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
เอนองค์ลงแอบแนบน้อง

เชยปรางพลางประคองสองสม
คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์

เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย
กรกอดประทับแล้วรับขวัญ

อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย
ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย

ดังสายสุนีวาบปลาบตา

ลักษณะนิสัยของตัวละคร
1.อิเหนาหรือระเด่นมนตรี เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งกรุงกุเรปัน อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ ท้าวกุเรปันได้สูขอบุษบาหนึ่งหรัดธิดาของท้าวดาหาเป็นคู่ตุนาหงันของอิเหนาตั้งแต่เด็ก ครั้นอิเหนาโตเป็นหนุ่มได้พบ จินตะหราวาตีและหลงใหลนางมาก จึงปฏิเสธไม่ยอมแต่งงานกับบุษบา แต่พอได้พบกับบุษบาก็หลงรักนาง จนกระทั่งลักพา ตัวนางไปขณะที่นางกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับระตูจรกา ทำให้องค์ปะตาระกาหลาโกรธอิเหนาจึงบันดาลให้ลมหอบนางไปเสีย อิเหนาก็ปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ มิสารปันหยี ออกติดตามหานางจนทั่วแผ่นดินชวาก็ไม่พบ จึงตัดสินใจบวชเป็นฤาษี ใช้ชื่อว่า กัศมาหรา ได้รับความทุกข์ทรมานใจแสนสาหัสกว่าจะได้พบนางบุษบาอีกครั้ง ภายหลังอิเหนาได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองกุเรปันมีมเหสีถึง ๑๐ องค์ได้แก่จินตะหราวาตี เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายขวา บุษบาหนึ่งหรัด เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้ายสะการะวาตี เป็น มะเดหวีฝ่ายขวา มาหยารัศมี เป็นมะเดหวีฝ่ายซ้ายบุษบาวิศ เป็น มะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนา เป็น มะโตฝ่ายซ้าย ระหนาระกะติกา เป็น ลิกูฝ่ายขวา อรสา เป็น ลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรี เป็น เหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยา เป็น เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย 2.บุษบาหรึ่งหรัดหรือบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีตาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงัน ให้กับอิเหนา บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวา กิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคน ใจกว้างและมี เหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ ให้ลงหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่นนอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาพระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
3.ท้าวกะหมังกุหนิง ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีน้องชายสองคนคือ ระตูปาหยัง กับ ระตูประหมัน และโอรสชื่อวิหยาสะกำ ซึ่งพระองค์และมเหสีรักราวกับแก้วตา เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำคลั่งไคล้ใหลหลงบุษบา ธิดาของท้าวดาหาซึ่งเพียงแต่เห็นรูปวาดเท่านั้นพระองค์ก็แต่งทูตไปสู่ขอนางทันทีครั้นถูกปฎิเสธเพราะท้าวดาหายกบุษบาให้เป็นคู่หมั้นของระตูจรกาไปแล้วท้าวกะหมังกุหนิงก็โกรธมากยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งบุษบามาให้วิหยาสะกำแม้ว่าน้องทั้งสองจะพยายามพูดทัดทานไว้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด โดยปะกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก และเมื่อยกทัพไปถึงกรุงดาหา วิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตายทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงแค้นมาก ขับม้าแกว่งหอกเข้ารุกไล่สังคามาระตาทันที แต่อิเหนาเข้าขวางไว้ และต่อสู้กันเป็นเวลานาน ในที่สุดท้าวกะหมังกุหนิงก็ถูกอิเหนาแทงด้วยกริชถึงแก่ความตาย
4.สังคามาระตาเป็นโอรสของระตูปักมาหงัน มีพี่สาวโฉมงามชื่อ มาหยารัศมี ซึ่งภายหลังได้เป็นมเหสีองค์หนึงของ อิเหนา สังคามาระตาเป็นชายรูปงาม มีความเฉลียวฉลาดรอบคอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง มีความซื่อสัตย์และกล้าหาญ ชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาหลายครั้ง ระตูปักมาหงันนำสังคามาระตากับมาหยารัศมีมาถวายให้อิเหนา อิเหนานึกรักและเอ็นดูสังคามาระตาจึงรับเป็นน้อง ตั้งแต่นั้นสังคามาระตาก็ติดตามไปทุกหนทุกแห่งจนเติบโตเป็นหนุ่ม ครั้งที่อิเหนาปลอมตัวเป็นโจรป่ามิสารปันหยี สังคามาระตาก็ปลอมตัวเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า จะหรังวิสังกา ครั้นอิเหนาบวชเป็นฤาษี สังคามาระตาก็บวชและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่ายาหยัง สังคามาระตาเป็นผู้เดียวที่นึกสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า อุณากรรณคือบุษบาปลอมตัวมา จนวางแผนให้ยาหงูทหารคนสนิทไปแอบดูตอนอุณากรรณอาบน้ำ และคราวที่สียะตราปลอมตัวเป็นชาวป่าชื่อย่าหรันมาอยู่ในกรุงกาหลัง สังคามาระตาก็จำได้และยังช่วยเหลือให้สียะตราได้เกนหลงหนึ่งหรัด(วิยะดา)เป็นภรรยาด้วย ภายหลังเมื่ออิเหนากลับไปครองกรุงกุเรปันแล้ว ก็ได้ส่งสังคามาระตากับมเหสีคือกุสุมาไปครองเมืองปักมาหงันแทนบิดาซึ่งชรามากแล้ว
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1. การใช้อารมณ์ ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกลับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่
2. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน
3. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง แล้วผลที่เกิดขึ้นนั้นก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือไม่ เกิดอย่างไรบ้าง เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ถ้าเราทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ก็มีแต่จะเกิดปัญหาตามมามากมาย เราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น จากการกระทำของอิเหนาในครั้งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา
ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง
1.คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ
2. คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
2.1 ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน
2.2การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน
2.3 การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง
2.4 การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ
3. คุณค่าในด้านความรู้
3.1 สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ
4.คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม
4.1 การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร
4.2 การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น
4.3 การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ
คำศัพท์
1.กระยาหงัน สวรรค์
2.กิริณี ช้าง
3.จตุรงค์ กองทัพ4เหล่า คือ ช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า
4.ดัสกร ศัตรู
5.ตุนาหงัน หมั้นหมาย
6.สามนต์ เจ้าเมืองที่เป็นเมืองขึ้น
7.อัปรา ยอมแพ้
8.อึงอุตม์ เสียงดังมาก
9.ย่างทีสะเทิน การเดินอย่างเร็วของช้าง

ไม่มีความคิดเห็น: