วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

blog ของเพื่อนๆ จ้า

Blog ของเพื่อนๆ

เลขที่ 3 นายศุภรัช (เอก) ม.4/1 : http://akelllp.mthai.com
เลขที่ 3 นายชัยพร (แมน) ม.4/2 :http://dekben.blog.mthai.com/
เลขที่ 4 นายณัฐพล (คัท) :http://blog.hunsa.com/nattaponcutter
เลขที่ 5 นายดรัณภพ (ไอเดีย) :http://www.oknation.net/blog/dreammaker/
เลขที่ 6 นายทิชาวุฒิ (ปอม) :http://thicahwuth.blogspot.com/
เลขที่ 7 นายธนสิทธิ์ (ต๋อง) :http://blog.hunsa.com/tong9613
เลขที่ 8 นายนนทนันท์(นาย) :http://nai-iannoi.blogspot.com/
เลขที่ 9 นายเมธา (เอฟ) : http://blog.hunsa.com/meta2535/
เลขที่ 10 นายศตคุณ (มีน) :http://zatakun-mongteenz.blogspot.com/
เลขที่ 11 นายสหรัฐ (แชมป์) :http://love-pp-nine.blogspot.com/
เลขที่ 12 นายสุทธิพงษ์ (ต้น) :http://blog.hunsa.com/ton216/
เลขที่ 13 นายกษิดิษ (เกมส์) :http://blog.hunsa.com/gamekadid/

อิเหนา

เรื่องย่ออิเหนา ( ตอนศึกกะหมังกุหนิง )
ผู้แต่ง พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชจักรีวงศ์ มีพระนามเต็มว่า : พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ( พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ )พระนามเดิม : ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพ : เมื่อ วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสวยราชสมบัติ : เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์ เสด็จสวรรคต : พ.ศ. ๒๓๖๗ วัดประจำรัชการ : วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)วันที่15พ.ศ. 2155
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร มีลักษณะดังนี้
๑.กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ – ๘ คำ
๒. การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ ๆ ในแต่ละวรรค ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น เช่น
ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย

ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
เอนองค์ลงแอบแนบน้อง

เชยปรางพลางประคองสองสม
คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์

เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย
กรกอดประทับแล้วรับขวัญ

อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย
ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย

ดังสายสุนีวาบปลาบตา

ลักษณะนิสัยของตัวละคร
1.อิเหนาหรือระเด่นมนตรี เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งกรุงกุเรปัน อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ ท้าวกุเรปันได้สูขอบุษบาหนึ่งหรัดธิดาของท้าวดาหาเป็นคู่ตุนาหงันของอิเหนาตั้งแต่เด็ก ครั้นอิเหนาโตเป็นหนุ่มได้พบ จินตะหราวาตีและหลงใหลนางมาก จึงปฏิเสธไม่ยอมแต่งงานกับบุษบา แต่พอได้พบกับบุษบาก็หลงรักนาง จนกระทั่งลักพา ตัวนางไปขณะที่นางกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับระตูจรกา ทำให้องค์ปะตาระกาหลาโกรธอิเหนาจึงบันดาลให้ลมหอบนางไปเสีย อิเหนาก็ปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ มิสารปันหยี ออกติดตามหานางจนทั่วแผ่นดินชวาก็ไม่พบ จึงตัดสินใจบวชเป็นฤาษี ใช้ชื่อว่า กัศมาหรา ได้รับความทุกข์ทรมานใจแสนสาหัสกว่าจะได้พบนางบุษบาอีกครั้ง ภายหลังอิเหนาได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองกุเรปันมีมเหสีถึง ๑๐ องค์ได้แก่จินตะหราวาตี เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายขวา บุษบาหนึ่งหรัด เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้ายสะการะวาตี เป็น มะเดหวีฝ่ายขวา มาหยารัศมี เป็นมะเดหวีฝ่ายซ้ายบุษบาวิศ เป็น มะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนา เป็น มะโตฝ่ายซ้าย ระหนาระกะติกา เป็น ลิกูฝ่ายขวา อรสา เป็น ลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรี เป็น เหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยา เป็น เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย 2.บุษบาหรึ่งหรัดหรือบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีตาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงัน ให้กับอิเหนา บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวา กิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคน ใจกว้างและมี เหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ ให้ลงหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่นนอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาพระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
3.ท้าวกะหมังกุหนิง ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีน้องชายสองคนคือ ระตูปาหยัง กับ ระตูประหมัน และโอรสชื่อวิหยาสะกำ ซึ่งพระองค์และมเหสีรักราวกับแก้วตา เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำคลั่งไคล้ใหลหลงบุษบา ธิดาของท้าวดาหาซึ่งเพียงแต่เห็นรูปวาดเท่านั้นพระองค์ก็แต่งทูตไปสู่ขอนางทันทีครั้นถูกปฎิเสธเพราะท้าวดาหายกบุษบาให้เป็นคู่หมั้นของระตูจรกาไปแล้วท้าวกะหมังกุหนิงก็โกรธมากยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งบุษบามาให้วิหยาสะกำแม้ว่าน้องทั้งสองจะพยายามพูดทัดทานไว้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด โดยปะกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก และเมื่อยกทัพไปถึงกรุงดาหา วิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตายทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงแค้นมาก ขับม้าแกว่งหอกเข้ารุกไล่สังคามาระตาทันที แต่อิเหนาเข้าขวางไว้ และต่อสู้กันเป็นเวลานาน ในที่สุดท้าวกะหมังกุหนิงก็ถูกอิเหนาแทงด้วยกริชถึงแก่ความตาย
4.สังคามาระตาเป็นโอรสของระตูปักมาหงัน มีพี่สาวโฉมงามชื่อ มาหยารัศมี ซึ่งภายหลังได้เป็นมเหสีองค์หนึงของ อิเหนา สังคามาระตาเป็นชายรูปงาม มีความเฉลียวฉลาดรอบคอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง มีความซื่อสัตย์และกล้าหาญ ชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาหลายครั้ง ระตูปักมาหงันนำสังคามาระตากับมาหยารัศมีมาถวายให้อิเหนา อิเหนานึกรักและเอ็นดูสังคามาระตาจึงรับเป็นน้อง ตั้งแต่นั้นสังคามาระตาก็ติดตามไปทุกหนทุกแห่งจนเติบโตเป็นหนุ่ม ครั้งที่อิเหนาปลอมตัวเป็นโจรป่ามิสารปันหยี สังคามาระตาก็ปลอมตัวเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า จะหรังวิสังกา ครั้นอิเหนาบวชเป็นฤาษี สังคามาระตาก็บวชและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่ายาหยัง สังคามาระตาเป็นผู้เดียวที่นึกสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า อุณากรรณคือบุษบาปลอมตัวมา จนวางแผนให้ยาหงูทหารคนสนิทไปแอบดูตอนอุณากรรณอาบน้ำ และคราวที่สียะตราปลอมตัวเป็นชาวป่าชื่อย่าหรันมาอยู่ในกรุงกาหลัง สังคามาระตาก็จำได้และยังช่วยเหลือให้สียะตราได้เกนหลงหนึ่งหรัด(วิยะดา)เป็นภรรยาด้วย ภายหลังเมื่ออิเหนากลับไปครองกรุงกุเรปันแล้ว ก็ได้ส่งสังคามาระตากับมเหสีคือกุสุมาไปครองเมืองปักมาหงันแทนบิดาซึ่งชรามากแล้ว
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1. การใช้อารมณ์ ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกลับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่
2. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน
3. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง แล้วผลที่เกิดขึ้นนั้นก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือไม่ เกิดอย่างไรบ้าง เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ถ้าเราทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ก็มีแต่จะเกิดปัญหาตามมามากมาย เราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น จากการกระทำของอิเหนาในครั้งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา
ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง
1.คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ
2. คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
2.1 ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน
2.2การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน
2.3 การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง
2.4 การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ
3. คุณค่าในด้านความรู้
3.1 สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ
4.คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม
4.1 การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร
4.2 การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น
4.3 การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ
คำศัพท์
1.กระยาหงัน สวรรค์
2.กิริณี ช้าง
3.จตุรงค์ กองทัพ4เหล่า คือ ช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า
4.ดัสกร ศัตรู
5.ตุนาหงัน หมั้นหมาย
6.สามนต์ เจ้าเมืองที่เป็นเมืองขึ้น
7.อัปรา ยอมแพ้
8.อึงอุตม์ เสียงดังมาก
9.ย่างทีสะเทิน การเดินอย่างเร็วของช้าง

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

งานภาษาไทย ย่อความเรื่อง "เวตาล "(คุณครูนพดล)

เรื่องย่อนิทานเวตาล
ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสนนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี
พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์ แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม
และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์
เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง”
เวตาลก็สนองตอบว่า “ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้”
พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น

รูปกีฬาสี






นี่คือภาพบรรยากาศ งานกีฬาสีของโรงเรียนข้าพเจ้า คือ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวังเพชรบรี
เป็นภาพวันเปิดงาน มีการเดินขบวนพาเหรด ของคณะสีต่างๆ

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

CROSS WORD

วันนี้ ผมมี crossword เกี่ยวกับศัพท์ ทาง computer มาให้เพื่อน ๆ ลองเล่น เพื่อฝึกทักษะกันดูครับ !!
http://u3.upload.sanook.com/A0/90f6b8af6839765dc83cad1bd7fbf04a

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

จบไปแล้วสำหรับกีฬาสี

สำหรับเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ทางโรงเรียนของข้าพเจ้าได้จัดงานกีฬาสีขึ้น โดยมีทั้งหมด ๕ วันโดยเริ่มจากวันจันทร์ที่ 25 ถึงวันศุกร์ที่ 29 สำหรับกีฬาสีในปีนี้ ได้รับความสนุกสนานแก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่ง และก็เพื่อนๆ แถมยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์กันในระหว่างหมู่เพื่อน ได้ทำให้มีความสามัคคีในแต่ล่ะหมู่คณะสี โดยในปีนี้ข้าพเจ้าได้อยู่สีเหลือง ในวันศุกร์มีการประกวดกีฬาจำพวก กรีฑา และกองเชียร์ โดยสีของข้าพเจ้าได้ขบวนพาเหรด กองเชียร์ ชนะเลิศ

ในสัปดาห์นั้นเป็นสัปดาห์ที่ข้าพเจ้ามีความสุขมากๆ